วันจันทร์ที่ 14 กันยายน พ.ศ. 2558

ศึกษาจากผลงานที่มี

http://www.kknic.ac.th/~kkvisart_poon/Webpage/kruvisart/Content_Project/FormProject1/formproject1.html

http://www.thaigoodview.com/node/32240

https://drive.google.com/folderview?id=0BxGHptK0-acEZnpNWWpZNnc2V1U

สรุปการศึกษาค้นคว้าและสร้างองค์ความรู้ (Research and Knowledge Formation)

ชื่อ นิตินนท์ สกุล แก้วพุ่มช่วง  เลขที่7  ห้อง ม.5/9
กลุ่มที่ 5
ปัญหาที่นักเรียนศึกษา: ปัญหาของยาเสพติด

ที่มาและความสำคัญของปัญหา: เกิดจากประชาชนไม่มีความรู้เกี่ยวกับยาเสพติด เกิดการอยากรู้อยากลอง ทำให้เกิดเป็นปัญหาใหญ่ระดับประเทศที่แก้ไขได้ยาก

วัตถุประสงค์
1.เพื่อศึกษาปัญหาของยาเสพติด
2.เพื่อเรียนรู้วิธีการสร้างภาพยนต์สั้นเกี่ยวกับยาเสพติด

ผลการศึกษา
       ทำให้รู้ถึงข้อเสียของยาเสพติดประเภทต่างๆที่แพร่ระบาดอยู่ในประเทศ ซึ่งสามารถแก้ไขได้ โดยเริ่มจากครอบครัวทำได้ดดยการปลุกฝังเด็กตั้งแต่เล็กๆว่ามันเป็นสิ่งไม่ดี ควรหลีกเลี่ยง

เสนอเเนวคิดในการแก้ปัญหาอย่างเป็นระบบด้วยองค์ความรู้จากการค้นพบ
        -ระมัดระวังการใช้ยาประเภทต่างๆซึ่งอาจนำพาไปสู่การเสพติดได้
        -หลีกเลี่ยงการใช้สารเสพติดในการแก้ปัญหาต่างๆ
        -ให้ความรู้กับบุคคลต่างๆที่ยังไม่มีความรู้ในด้านนี้

นักเรียนได้เรียนรู้อะไรบ้างจากวิชาIS1
         ได้รู้ข้อมูลเกี่ยวกับยาเสพติด และวิธีการทำภาพยนต์สั้น

วันอาทิตย์ที่ 5 กรกฎาคม พ.ศ. 2558

ประวัติส่วนตัว

ชื่อ นายนิตินนท์ แก้วพุ่มช่วง
ชื่อเล่น กัปตัน
วันเกิด 16 ตุลาคม พ.ศ.2541
อายุ 16 ปี
ปัจจุบันศึกษาอยู่ในระดับชั้น ม.5  โรงเรียนสุราษฎร์พิทยา
กรุ๊ปเลือด โอ
ความสามารถพิเศษ เล่นไวโอลิน เป่าฟลูท เล่นเทนนิส

ประเภทออกฤทธิ์ผสมผสาน

ประเภทออกฤทธิ์ผสมผสาน คือทั้งกระตุ้นกดและหลอนประสาทร่วมกันได้แก่ ผู้เสพติดมักมี อาการหวาดระแวง ความคิดสับสนเห็นภาพลวงตา หูแว่ว ควบคุมตนเองไม่ได้และป่วยเป็นโรคจิตได้

ประเภทหลอนประสาท

ประเภทหลอนประสาท ได้แก่ แอลเอสดี และ เห็ดขี้ควาย เป็นต้น ผู้เสพติดจะมีอาการประสาทหลอน ฝันเฟื่องเห็นแสงสีวิจิตรพิสดาร หูแว่ว ได้ยินเสียง ประหลาดหรือเห็นภาพหลอนที่น่าเกลียดน่ากลัว ควบคุมตนเองไม่ได้ ในที่สุดมักป่วยเป็นโรคจิต

ประเภทกระตุ้นประสาท

ประเภทกระตุ้นประสาท ได้แก่ ยาบ้า  ยาอี กระท่อม  โคเคน มักพบว่าผู้เสพติดจะมีอาการ หงุดหงิด กระวนกระวาย จิตสับสนหวาดระแวง บางครั้งมีอาการคลุ้มคลั่ง หรือทำในสิ่งที่คนปกติ ไม่กล้าทำ เช่น ทำร้ายตนเอง หรือฆ่าผู้อื่น เป็นต้น

ประเภทกดประสาท

ประเภทกดประสาท ได้แก่ ฝิ่น  มอร์ฟีน  เฮโรอีน ยานอนหลับ ยาระงับประสาท ยากล่อมประสาทเครื่องดื่มมึนเมาทุกชนิด รวมทั้ง สารระเหย เช่น ทินเนอร์ แล็กเกอร์ น้ำมันเบนซิน กาว เป็นต้น มักพบว่าผู้เสพติดมี ร่างกายซูบซีด ผอมเหลือง อ่อนเพลีย ฟุ้งซ่าน อารมณ์ เปลี่ยนแปลงง่าย